บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ หลักการบริหารและการจัดการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการคิดสร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ถ้าเนื้อหาในบล็อกนี้ขาดตกบกพร่องประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย





วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบการบริหาร (management function)

        ในการบริหารเพื่อที่จะให้บรรลุวัตลุประสงค์หรือนโยบายที่วางไว้นั้นนอกจาก จะต้องมีปัจจัยในการบริหารดังได้กล่าวมาแล้ว ยังจะต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ มาเป็น ส่วนสำคัญในการจัดการด้วย Fayol (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง, 2536, หน้า 53-54) ได้พูดถึงองค์ประกอบในการบริหารว่า ได้แก่
             1. การวางแผน (planning) คือ การคาดการณ์ล่วงหน้าต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีต่อการ ทำงาน และต้องมีแนวทางในการปฏิบัติไว้เพื่อใช้ได้ในอนาคต
             2. การจัดองค์การ (organizing) คือ การจัดโครงการของงานต่าง ๆ รวมทั้งกำหนด หน้าที่ไว้ต้วยเพื่อให้คนงานสามารถปฏิบัติงานในแนวทางที่เหมาะสม
             3. การบังคับบัญชา (commanding) คือ การที่ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งการให้เป็นไป ต้วยความยุติชรรม มีการดงโทษผู้ที่อย่ใต้บังคับบัญชาไต้เมื่อทำงานหย่อนสมรรถภาพ เพื่อให้มีการปรับปรุงภายในองค์การ ให้มีลักษณะที่เหมาะสมไม่เกิดความขัคแย้ง เพื่อ มุ่งไปสู่จุดหมายหรือวัตถุประสงค์อันเดียวกัน
             4. การประสานงาน (coordinating) คือ ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงงานของ ทุกคนให้เข้ากันไต้และกำกับดูแลให้ไปสู่จุดม่งหมายเดียวกัน
             5. การควบคุม (controlling) หมายถึง การกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่ได้ กระทำไปนั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้นไม่เกิดการผิดพลาด
หลักและวิธีการบริหารในองค์การโดยทั่วไป หลักและวิธีการบริหารมีอยู่หลาย แบบ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากรากฐานของทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของ Fayol (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง, 2536, หน้า 54-56) หรืออาจเรียกว่าเป็นหลักของการบริหารทั่วไป (general principle of management) ซึ่งมีอยู่ 14 ประการ คือ
             1. การแบ่งงานกันทำ (division of work) คือ การทำงานตามความชำนาญเฉพาะ อย่างหรือตามความสามารถของแต่ละบุคคลหรือตามความสามารถของกลุ่มคน เพื่อให้ เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพมากที่ชุด
             2. อำนาจหน้าที่ (authority) เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็น ปัจจัยสำคัญในการสั่งงานและการบังคับบัญชาลูกน้อง และอำนาจหน้าที่จะต้องมี ความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต้วยเสมอ ดังดำกล่าวที่ว่า "Wherever authority is, exercise responsibility arises" หรืออำนาจหน้าที่ควรมีเท่ากับความรับผิดชอบ "Authority should be equal to responsibility"            
              3. ระเบียบวินัย (discipline) การทำงานต้องเป็นไปอยางมีระเบียบต้องมีการตกลง หรือกำหนดให้ชัดเจนว่า สิ่งใดที่ผู้ปฏิบัติงานควรประพฤติหรืองดเว้นการประพฤติ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือข้อตกลงนั้น ระเบียบวินัยที่ดีหรือการที่จะรักษาวินัยให้ มีผลนั้นขึ้นอยู่กับความยุติธรรมและคนส่วนใหญ่ยอมรับและต้องอาศัยผู้บังคับบัญชาที่ดี ซึ่งจะต้องเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต มีความเป็นธรรมในการรักษาระเบียบวินัย การตัดสิน ข้อพิพาทและการลงโทษ
             4. เอกภาพในการบังคับบัญชา (unity of command) ผู้ปฏิบัติงานต้องทราบว่าใคร เป็นผู้มีอำนาจและรับผิดชอบโดยตรงที่จะรับคำสั่งหรือปรึกษาการแกัปีญหา โดยที่'วไป ถือว่าผู้ปฏิบัติงานควรได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เพื่อจะได้ไม่เกิดความ สับสนในการทำงานซึ่งจะเป็นการลดความขัดแย้งระหว่างแผนกต่าง ๆ หรือระหว่าง บุคคลที่ทำงานร่วมกันดวย
               5. เอกภาพในการอำนวยการ (unity of direction) คือ กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม จะต้องมีเป้าหมายหรือจุดร,วมอันเดียวกันสอดคล้องตามแผนงานรวมกัน การสั่งงานต้อง ไม่ซ้ำซ้อนหรือก้าวก่ายกัน เพราะอาจจะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายได้
             6. ไม่ถือประโยชน์ส่วนตัวเหนือส่วนรวม (subordination of individual to general interest) ผู้ปฏิบัติงานจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ขององค์การก่อนเป้าหมายและผลประโยชน์ ขององค์การจะต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด
             7. ผลประโยชน์ตอบแทน (remuneration of personnel) เมื่อมีการทำงานย่อมต้อง มีค่าตอบแทนและผลตอบแทนนั้นต้องเป็นไปอย่างยูติธรรมโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น ค่าครองชีพ ความสามารถแต่ละบุคคล รวมทิ้งฐานะทางเศรษฐกิจขององค์การ เพื่อให้เกิดความพอใจทิ้ง 2 ฝ่าย ทิ้งลูกจ้างละนายจ้าง
             8. การรวมอำนาจไวที่ศูนย์กลาง (centralization) เป็นการรวมงานที่มีลักษณะการ บริการเหมือนๆกันมาขึ้นไว้กับศูนย์กลางเดียวกัน โดยมีการกระจายอำนาจบ้างเพื่อให้ ส่วนบริหารได้ควบคุมหน่วยต่าง ๆ ภายในองค์การได้พอสมควร
             9. สายการบังคับบัญชา (scale chain) มีสายการบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาหา ระดับต่ำ อันจะเป็นผลต่อเอกภาพของการบังคับบัญชา คือ ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งการ ต่อเจ้าหน้าที่ระดับรอง ๆ ลงมาจนถึงระดับตํ่าชุดไต้
             10. การออกคำสั่ง (order) เป็นการจัดระเบียบตัวบุคคลหรือสิ่งของในการทำงาน ในองค์การ ผู้บริหารจะต้องกัาหนดลักษณะงานขอบเขตงาน มีการจัดผังขององค์การ (organization chart) ไว้หรือการออกคำสั่งที่ชัดเจนเป็นเรอง ๆไปทิ้งที่เป็นระเบียบข้อบังคับสำหรับบุคคลและที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสิ่งของ เพื่อให้การทำงานร่วมกันเกิด ความเป็นระเบียบ
             11. ความเสมอภาค (equity) ผู้บริหารจะต้องมีความเป็นธรรมปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาอย่างยุติธรรม ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง
             12. ความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การทำงาน (stability of tenure) ผู้ทำงานจะต้อง รับหลักประกันหรือสัญญาวา จะไม่ถูกออกจากงานก่อนครบการทดลองปฏิบัติงาน เพื่อให้โอกาสศึกษางานเสียก่อน รวมถึงการที่จะไม่ถูกสับเปลี่ยนหน้าที่บ่อยเกินไปต้วย
             13. ความคิดริเริ่ม (initiative) การนำความคิดริเริ่มในสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาปรับปรุง การบริหารให้ทันสมัยและกัาวหน้าอยู่เสมอ รวมถึงในแง่ที่ว่าผู้บังคับบัญชาจะต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็นและเสนอข้อบกพร่องที่มีอยู่ในองค์การเพื่อแก้ไขให้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
             14. ความสามัคคี (esprit de corps or harmony) ทุกคนในองค์การต้องมีความ สามัคคีกลมเกลียว ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานหรือมีการทำงานเป็นทีม (team work)

บรรณานุกรม

มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
        ที่มา http://www.idis.ru.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น