วิจิตร ศรีสะอ้าน (2534, หน้า 6-24) ได้กล่าวถึงการบริหารว่าเป็นกิจกรรมของ กลุ่มบุคคลร่วมมือกันทำกิจการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยการใช้กระบวนการและ ทรัพยากรที่เหมาะสม
ธงชัย สันติวงษ์ (2537, หน้า 26) ให้คำจำกัดความว่าการบริหาร หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้นำกลุ่ม ซึ่งจะต้องจัดการให้ทรัพยากรทั้งที่เป็นตัวคนและวัตถุสามารถประสานเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันทำงานเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพได้ และขณะเดียวกัน ก็จะต้องจัดการนำองค์การให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกได้อย่างดีที่สุดด้วย
ชุลทรัพย์ นาคนาคา (2542, หน้า 91) ให้ความหมายการบริหารว่า เป็นการทำงาน ของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
จันทรานี สงวนนาม(2545,หน้า 11)ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการบริหาร ส่วนสัมพันธ์กับสิ่งต่อไปนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายขององค์การ
2. ทรัพยากรทางการบริหาร ซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลในองค์การ
3. กลไกการดำเนินงาน หรือการจัดกิจกรรมขององค์การ
การบริหารเป็นเรื่องของการทำกิจกรรมโดยผู้บริหารและสมาชิกในองค์การ เพื่อให้บรรลุวัตอุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Moehiman (อ้างถึงใน ชาญชัย อาจินสมาจาร, 2541, หน้า 39) ได้ให้ความหมาย ว่า การบริหาร หมายถึง ความพยายามที่จะสั่งแนะ และผสมผสานความพยายามของมนุษย์ ซึ่งมีจุดรวมที่ม่งสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง หรือเป้าหมายบางอย่าง การบริหารเป็น กิจกรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารในองค์การซึ่งมีหน้าที่สั่งการให้ความสะดวกในการ ทำงานของกลุ่มคนที่มีวัตอุประสงค์เดียวกัน กิจกรรมของการบริหารคือกระบวนการ ทุกอย่างที่ด้องการทำให้นโยบาย และวิธีการที่มีประสิทธิผล พอสรุปความหมาย ดังนี้
1. การทำงานร่วมกัน
2. การช่วยให้ตระหนักในเป้าหมายและวัตลุประสงค์ของการศึกษา
3. การให้บริการแก่สังคม
4. การเข้าเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่น ครู นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนให้เกิด ความร่วมมือระหว่างบุคคลเหล่านี้
5. การใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด สำหรับการศึกษาและวัตถุประสงค์ โดยผ่านทางวิธีการของการจัดองค์กร การสั่งการ การอำนวยความสะดวก และการปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
การบริหารงานเชิงระบบ (systems approach) โรงเรียนในฐานะหน่วยงานที่มี เป้าหมายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นคนที่มีคุณภาพมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่สังคมต้องการ ภารกิจดังกล่าวจะบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร โรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่จะต้องร่วมมือกัน ดำเนินการ โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องวางแผนและปฏิบัติทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนมากมายหลายประการ ได้แก่ (กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ, 2544, หน้า 3-10) 1.การบริหารงานวิชาการ เป็นภาระหน้าที่สำคัญยิ่งซึ่งเกี่ยวของกับการเรียน
การสอนโดยตรง และเกี่ยวของกับงานทุกงานในโรงเรียน เช่น การจัดครูเข้าสอน การจัดแผนการเรียน การจัดตารางสอน การพัฒนาสื่อ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและ ประเมินผลการเรียน เป็นด้น
2. การบริหารงานธุรการ เป็นงานบริการและสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อบริการฝ่ายงาน หรือกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในโรงเรียนให้สามารถปฏิบัติงานได้ โดยไม่มีอุปสรรคและมีความคล่องตัว ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนการสอน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไวั ขอบข่ายของการบริหารงานธุรการ เช่น การวางแผน และการบริหารงานธุรการ การบริหารงานพัสดุ การบริหารงานการเงินและบัญชี ตลอดจนการบริหารงานทะเบียนสถิติ เป็นด้น
3. การบริหารงานบุคคล หมายถึง การใช้คนเพื่อทำงานให้ได้ผลดีที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด และสิ้นเปลืองงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์น้อยที่สุด และในขณะเดียวกัน คนที่ทำงานก็มีความสุข ความพอใจในการทำงานด้วย ขอบข่ายของ การบริหารบุคคล คือ การคัดเลือกและสรรหาบุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร และ การให้บุคลากรพ้นจากงาน
4. การบริหารงานกิจกรรมนักเรียน เป็นงานที่เกี่ยวของกับนักเรียนโดยตรง นอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติ เป็นงานที่มุ่งส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียน ให้เป็นไปด้วยดี อันจะส่งผลต่อไปถึงการพัฒนาบุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ หรือ ความถนัด ความสนใจของนักเรียน ขอบข่ายของการบริหารงานกิจการนักเรียนที่สำกัญ คือ การรับนักเรียน การจัดกลุ่มนักเรียน การรักษาวินัย การจัดบริการและสวัสดิการ การจัดกิจกรรมนักเรียน เป็นต้น
5. การบริหารงานอาคารสถานที่ เป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเอาใจใส่ ดูแลรักษา และตกแต่งซ่อมแซม ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า สร้างเสริม บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สะอาดสดชื่น ร่มรื่น สวยงาม แก่บุคลากรทั้งภายในและ ภายนอกโรงเรียน ขอบข่ายของการบริหารงานอาคารสถานที่ที่สำคัญ ได้แก่ การจัดสร้าง อาคารสถานที่ การใช้อาคารสถานที่ การบำรุงรักษา การควบดุมดูแลอาคารสถานที่
เป็นต้น
6. การบริหารงานบริการและงานสัมพันธ์กับชุมชน งานบริการ เป็นงานหนึ่ง ที่มีความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกงานดำเนินการไปตามเป้าหมายแล้ว
ยังต้องคำนึงถึงหน้าที่ที่จะต้องให้บริการชุมชน ทั้งในด้านการศึกษาและการบริการอื่นๆ ด้วย อันเป็นการสร้างประโยชน์และความเจริญให้กับชุมชนนั้น ๆ นอกจากนี้โรงเรียน จะต้องอาศัยทรัพยากรจากชุมชนมาพัฒนาโรงเรียนอีกด้วย โดยกำหนดภาระหน้าที่ ของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนไว้ดังนี้ วางแผนและกำหนด โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติ ของโรงเรียนสู่ชุมชน สอนประชาชน บริการชุมชน ตลอดจนการทำหลักฐานต่าง ๆ
จากภาระกิจของผู้บริหารโรงเรียนดังกลาวข้างต้นจะพบว่า ผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนเพียงคนเดียว จะสามารถปฏิบัติงานตามขอบข่ายที่กำหนด ได้อย่างครบถ้วน จึงจำเป็นด้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานจากบุคลากร ทุกฝ่าย ทุกหมวดวิชา และทุกงาน ร่วมกันวางแผนหาเทคนิค วิธีการและกระบวนการ ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะการนำการบริหารงานเชิงระบบมาใช้กับทุกคน
องค์ประกอบของระบบ โครงสร้างของระบบแต่ละระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ (กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ, 2544, หน้า 3-10)
1. ปัจจัยการนำเข้า (input)
2. กระบวนการ (process)
3. ผลงาน หรือผลผลิต (Product)
ปัจจัยการนำเข้า (input) หมายถึง ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างระบบที่ถูกป้อนเข้าไปให้ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบแรกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ เช่น ในระบบการอุตสาหกรรม ตัวป้อนที่ถือว่าเป็นปัจจัยนำเข้าคือ ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ชนิดต่าง ๆ และพนักงานในโรงงาน ถ้าเป็นระบบทางการศึกษา ในโรงเรียน ตัวป้อนได้แก่ โรงเรียน ครู นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน และ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและของนักเรียนเอง เป็นต้น
กระบวนการ (process) หมายถึง วิธีการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ทำให้สิ่งที่ป้อนเข้าไป เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ผลงาน หรือผลผลิตของระบบ ซึ่งนับได้ว่าเป็น องค์ประกอบที่สองของระบบ เช่น ในระบบการอุตสาหกรรม กระบวนการ ได้แก่ กรรมวิธีในการผลิตในลักษณะต่างๆ และในระบบการศึกษากระบวนการได้แก่ วิธีการสอน หรือการบริหารการเรียนการสอนด้านต่าง ๆ เป็นต้น
ผลงาน หรือผลผลิต (product) เป็นองค์ประกอบสุดท้าย หมายถึง ผลสัมฤทธิ ในลักษณะต่างๆ ทั้งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดจากการดำเนินงานในระบบ กระบวนการ เช่น ในระบบอุตสาหกรรม ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เสื้อผ้า และอื่นๆ ในระบบทางการศึกษาได้แก่ผลสัมฤทธิของนักเรียนในลักษณะต่าง ๆ เป็นด้น
การบริหารโรงเรียน เป็นที่กล่าวกันโดยทั่วไปในวงการศึกษา ในปัจจุบันว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในฐานะที่เป็นผู้มีส่วน รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด ต่อการจัดการศึกษาอันเป็นพื้นฐานของการศึกษาทุกระดับ การที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เหมาะสมกับความสำคัญที่กล่าวมานั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการบริหารโรงเรียนเป็นอย่างดี กล่าวคือต้องทราบและเข้าใจกับวัตถุประสงค์ขอบข่ายและความสำคัญของงานบริหารโรงเรียนเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยกรมสามัญศึกษาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารโรงเรียน ให้ผู้บริหารใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้ (พนัส หันนาคินทร์, 2542, หน้า 20)
4. โรงเรียนใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหาร มีลักษณะเป็นการใช้พลังรวมร่วมกันของกลุ่มเพื่อปฏิบัติการให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้ แผนจึงเป็นหน้าที่ขั้นมูลฐานที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในกระบวนการบริหาร เพราะการวางแผนเป็นการเลือกแนวทางปฏิบัติจากหลายทางขององค์กร เพื่อให้งานบรรลุวัตลุประสงค์ รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ
5. โรงเรียนประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาโรงเรียน โรงเรียนจะ พัฒนาสู่การมีประสิทธิภาพได้นั้น อยู่ที่บุคลากรในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มี ส่วนร่วมกำหนด รับรู้ และยอมรับวิสัยทัศน์ ภาระหน้าที่ ความเชื่อ เป้าหมาย รวมทั้ง แนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือ กับทุกฝ่ายจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ และการบริหาร และต้องส่งเสริมให้กลุ่มหรือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสวงหาทรัพยากรมาสนับสนุนการบริหาร การประสานงาน ความร่วมมือ นับเป็นภารกิจสำคัญของโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนต้องถือปฏิบัติ เพราะ เป็นการปรับบทบาทของโรงเรียนให้เป็นไปในเชิงรุกและสร้างสรรค์โดยเปิดโอกาสให้ ทุกส่วนร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาอย่างเหมาะสม ทั้งนี้โดยใช้การประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ก่อให้เกิดความร่วมมืออันดีต่อกัน และส่งพลต่อการร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียนในที่สุด
6. โรงเรียนประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ การปฏิบัติงานของโรงเรียน จะต้องมีการตรวจสอบหรือประเมินตนเองว่างานที่ดำเนินไปนั้น สำเร็จหรือไม่และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงใด เพื่อนำผลมาปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการบริหารที่มีผู้บริหารจะไต้นำผลการประเมินไปปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน มีหลักการประเมินดังนี้
6.1 ความครอบคลุม ต้องประเมินให้ครบและครอบคลุมแผนงานบริหาร โรงเรียนทุกแผน
6.2 ความต่อเนื่อง หมายถึง มีการประเมินการบริหารอย่างสมํ่าเสมอ ตาม ขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผน
6.3 ความร่วมมือการประเมินจะมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้บริหารได้มอบหมาย หรือให้บุคลากรมีความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน
6.4 ความยืดหยุ่น แผนการประเมินต้องยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกระยะ ตามสถานการณ์ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงการปรับเปลี่ยนสาระและรูปแบบอย่างสิ้นเชิง จนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานและโครงการ
โรงเรียน องค์การ เป็นหน่วยหนึ่งในสังคมมนุษย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างปัญญาและความเจริญให้กับมนุษย์ความสำเร็จของโรงเรียน จึงอยู่ที่ว่าสามารถสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบุรณ์ทั้งสติปัญญา ร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งความสำเร็จของโรงเรียนก็คือความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั่นเอง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น มีองค์ประกอบ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ได้แก่
1. องค์ประกอบด้านลักษณะองค์การ
2. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
3. องค์ประกอบด้านบุคคล
4. องค์ประกอบด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ
5. ผู้บริหารต้องบริหารคน บริหารความขัดแย้ง การพัฒนาบุคลากร บริหารองค์กร และบริหารการเปลี่ยนแปลง
ที่มา http://www.idis.ru.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น