บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ หลักการบริหารและการจัดการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการคิดสร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ถ้าเนื้อหาในบล็อกนี้ขาดตกบกพร่องประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย





วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ

             การจัดการ (management) เป็นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและ การควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ซึ่ง ชุชาติ ประชากล (2513, หน้า 4-6) ได้อธิบายว่า
             ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุม วางวัตลุประสงค์และ โครงการสำหรับอนาคต
             ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่าง ๆ และระดับต่าง ๆ ทั้งทีมผู้ทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่อย่างมีประสิทธิภาพ
             ประการที่สาม ได้แก่ การควบคุมงานนั้น คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดการสามารถ พบวา ได้มีการทำอะไรบัางเพื่อตอบสนองต่อวัตถประสงค์และการมอบหมายงาน การบริหาร หมายถึง ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการนำเอาทรัพยากรการบริหาร (administrative resource) มาประกอบกันขึ้นให้เป็นไปตามกระบวนการทางการบริหาร (process of administration) เพื่อให้บรรลุวัตลุประสงค์ที่กัาหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ(สมพงษ์ สิน, 2514, หน้า 13-14)เกษม
             การบริหาร หมายถึง การทำงานของคณะบุคคล (group) ตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ ร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ฉะนั้นคำว่าการบริหารนี้จึงใช้สำหรับแสดง ให้เห็นลักษณะการบริหารงานแต่ละประเภทได้เสมอแล้วแต่กรณีไป แต่ถ้าเป็นการทำงาน โดยบุคคลคนเดียวเรียกว่า เป็นการทำงานตามธรรมดาเท่านั้น (ชุบ กาญจนประกร อ้างถึงใน สมพงษ์เกษมสิน,2514, หน้า 13)
             จากความหมายของการบริหารดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าการบริหารมีลักษณะเด่น เป็นสากลอยู่หลายประการ คือ (สมพงษ์เกษมสิน,2514, หน้า 14)
             1. การบริหารยอมมีวัตถุประสงค์
             2. การบริหารอาศัยปีจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด
             3. การบริหารฅ้องใช้ทรัพยากรทางการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
             4. การบริหารมีลักษณะการดาเนินงานเป็นกระบวนการ
             5. การบริหารเป็นการดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบุคคล
             6. การบริหารมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันดำเนินงานอย่างมีเหตุผล
             ในสังคมหนึ่ง ๆ มนุษย์ย่อมมีพฤติกรรมร่วมกันในอันที่จะกระทำการต่าง ๆ เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของสมาชิกในสังคมมากที่ชุด มีการแบ่งงานกันทำช่วยเหลือเกื้อกูล การปรับปรุงการบริหารของกลุ่มให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเป็นระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการและข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของประชาชน พยายามหามรรควิธี (means) ที่จะเป็นเครื่องมือในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้นการบริหาร จึงมีความสำคัญ ดังนี้ (สมพงษ์ เกษมสิน, 2514, หนา 4-5)
             1. การบริหารนั้นได้เจริญเติบโตควบลู่มากับการดำรงชีพของมนุษย์ และเป็นสิ่ง ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพอยู่ร่วมกันไดัอย่างผาสุก
             2. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นผลทำให้องค์การต่าง ๆ ต้องขยาย งานด้านการบริหารงานให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
             3. การบริหารเป็นเครื่องมือบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม ความก้าวหน้าทางวิชาการ (technology) ในต้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในต้านอุตสาหกรรม ทำให้การบริหารเกิดการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
             4. การบริหารเป็นมรรควิธีที่สำคัญในอันที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
             5. การบริหารจะช่วยให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
             6. การบริหารมีลักษณะเป็นการทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลในสังคม ฉะนั้น ความสำเร็จของการบริหารจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมือง (political socio-cultural factors environment) อยู่เป็นอันมาก
             7. การบริหารมีลักษณะต้องใซพวินิจฉัยสั่งการเป็นเครองมือ ซึ๋งนักบริหาร จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และการวินิจฉัยสั่งการนี้เองทิ่เปีนเครื่องมือแสดง ให้ทราบถึงความสามารถของนักบริหารและความเจริญเติบโตการบริหาร
             8. ชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่วิาในครอบครัวหรือสำนักงานยอมมีสํวนเกึ่ยวพันกับการบริหารเสมอ ดังนั้น การบริหารจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและจำเป็นตอการที่จะดำรง ชีพอย่างฉลาด
             9. การบริหารกับการเมืองเป็นสิ่งควบคู่ที่แยกกันไม่ออก ฉะนั้นการศึกษาจึงต้อง คำนึงถึงสภาพทางการเมืองด้วย
             จึงกล่าวได้ว่าการบริหาร คือ การใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการนำเอาทรัพยากร การบริหารมาประกอบการตามกระบวนการบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ปัจจัยในการบริหาร

             โดยทั่วไปการบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปีจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
             แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ  สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อ็านาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
             เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่,านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
             ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะไดัผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)
บรรณานุกรม

สมพงษ์ เกษมสิน. (2514). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ.

อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
       ที่มา http://www.idis.ru.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น