บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ หลักการบริหารและการจัดการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการคิดสร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ถ้าเนื้อหาในบล็อกนี้ขาดตกบกพร่องประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย





วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร

ภาระหน้าที่หรือลักษณะงานของผู้บริหารที่จะต้องทำมีหลากหลายดังนี้
หน้าที่ของผู้บริหาร (Management Functions) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดกระบวนการจัดการ
               

Henri Fayol นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ในต้นศตรรษที่ 19 ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารดังนี้ (POCCC)
  1. Planning (การวางแผน)
  2. Organizing (การจัดองค์การ)
  3. Commanding (การสั่งการ)
  4. Coordinating (การประสานงาน)
  5. Controlling (การควบคุม)




หน้าที่ดังกล่าวเป็นหลักการเบื้องต้นและได้รับความนิยมตลอดมาจนกระทั่งได้สรุปดังกล่าวเหลือ 4 อย่างคือ
    การวางแผน (Planning)  เป็นการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ต่าง ๆ และจัดทำแผนงานเพื่อประสานกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะกระทำในอนาคต เป็นการเตรียมการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
    การจัดองค์การ  (Organizing) เป็นการพิจารณาถึงงานที่จะต้องกระทำ ใครเป็นผู้ทำงานนั้น ๆ ต้องมีการจัดกลุ่มงานอย่างไร ใครต้องรายงานใคร และใครเป็นผู้ตัดสินใจ นั่นคือการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดสายการบังคับบัญชา
    การชักนำ  (Leading)  เป็นการนำและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา การสั่งการ การเลือกช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และการขจัดความขัดแย้ง หรือเป็นการกระตุ้นให้พนักงานใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
    การควบคุม  (Controlling)  เป็นการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องอีกด้วย
    การบริหารในแนวทางปฏิบัติถือว่าเป็นศิลป์  (art)  ส่วนองค์ความรู้ที่สำคัญเพื่อนำมาปฏิบัติหรือศาสตร์  (science)  ซึ่งได้มีการพัฒนาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  พัฒนาการทางด้านทฤษฎีการจัดการเป็นเนื่องมาจากการพัฒนาแนวความคิด  (concepts)  หลักการ (principles)  และเทคนิค  (techniques)  ต่าง ๆ
หลักการบริหารหรือการจัดการถือเป็นสากล (Universality)  คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์การทุกรูปแบบ และทุกระดับขององค์การ นั่นคือ ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีหน้าที่ 4 อย่างที่กล่าวข้างต้น (POLC) แต่ลำดับของการทำหน้าที่ทางการจัดการแต่ละตัวที่นำไปใช้จะแตกต่างกันในแต่ละตัวที่นำไปใช้นั้นจะแตกต่างกันในแต่ละองค์การ เช่น บางแห่งใช้การวางแผนมากกว่าที่อื่น ๆ บางแห่งใช้ในเรื่องการจัดการองค์การมากกว่าหน้าที่อื่น ๆ
       ดังนั้น  กระบวนการจัดการ  (Management process) จึงเป็นการตัดสินใจและกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องมีการวางแผน การจัดองค์การ การชักนำ และการควบคุม
       ที่มา http://uhost.rmutp.ac.th

การจัดการศึกษา สู่ประชาคม อาเซียน

การบริหารงานบุคคลเมื่อเข้าสู่ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

        อย่างที่เรารู้กันดีว่า ในปี พ.ศ. 2558 ข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community- AEC) จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มอาเซียน ดังนั้นข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้กับไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อมีการเปิดการค้าเสรี แรงงานฝีมือในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน จะสามารถโยกย้ายกันได้อย่างเสรี นอกจากนี้การลงทุนข้ามประเทศก็จะเป็นไปได้ง่าย และนั่นหมายความว่า การแข่งขันระหว่างองค์กรก็จะสูงขึ้น เมื่อการแข่งขันมีสูงขึ้น ศักยภาพของคนในองค์กรก็จาเป็นที่จะต้องมีมากขึ้นเช่นกัน
สำหรับองค์กรที่เป็นองค์กรข้ามชาติอยู่แล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมากนัก เกี่ยวกับศักยภาพของคนในองค์กร แต่สาหรับองค์กรที่เป็นแบบไทยๆ การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน จะกลายเป็นประเด็นสาคัญที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน และการพัฒนาคนนั้นจาเป็นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการพัฒนาในเชิงพฤติกรรมที่ต้องใช้เวลาอย่างมากถึงมากที่สุด แล้วอะไรเป็นทักษะความรู้ที่ต้องพัฒนาบ้าง  สิ่งแรก คือ ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แน่นอนว่านอกจากการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีศักยภาพแล้ว ถ้าเรามองในอีกมุมหนึ่งการลงทุนข้ามชาติ อาจหมายถึง การที่เราจะมีลูกค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงเตรียมพร้อมในเรื่องของภาษาไว้เพื่อที่เราจะได้สามารถสื่อสารกับเขาได้อย่างราบรื่น
     นอกจากเรื่องของภาษาแล้ว กระบวนการทางาน บางอย่างก็จาเป็นต้องได้รับการปรับปรุง แม้นี่จะไม่ใช่งานหลักที่ HR ต้องเข้าไปดูแล เพราะแต่ละฝ่ายจะต้องมีหน้าที่ในการปรับปรุงกระบวนการทางานของตนเองอยู่แล้ว แต่ HR ก็ยังคงต้องเข้าไปช่วยเป็นกาลังเสริมให้กับฝ่ายเหล่านั้น เพราะอย่าลืมว่า หลังจากปรับปรุงกระบวนการทางาน ตาแหน่งงานและคุณสมบัติของคนทางานจะเปลี่ยนไป ซึ่ง HR จะต้องเข้าไปช่วยดูแลเพื่อให้คนที่อยู่ในตาแหน่งงานมีศักยภาพที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่นั้นๆ วัฒนธรรม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคานึงถึง เมื่อต่างชาติเข้ามาในไทย เขาจะนาเอาวัฒนธรรมบางอย่างเข้ามาด้วย ดังนั้น พนักงานจาเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้แต่ความคิด และความเชื่อที่แตกต่างกัน แม้จะมีคากล่าวที่ว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตามวัฒนธรรมขององค์กร เป็นอีกเรื่องที่อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม ซึ่ง HR ต้องมีบทบาทอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เริ่มจากการค้นหาดูก่อนว่าปัจจุบันวัฒนธรรมขององค์กรเป็นอย่างไร และมีส่วนไหนบ้างที่อาจจะกลายเป็นอุปสรรคในการทางานในอนาคต จากนั้นปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมดังกล่าวเสีย ยกตัวอย่างเช่น การจ่ายผลตอบแทน หรือการเลื่อนตาแหน่งที่มองตามความอาวุโส แม้คนไทยส่วนใหญ่จะชอบให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเปิดการค้าเสรีแล้ววัฒนธรรมนี้จะทาให้คนเก่งแต่อาวุโสน้อยหนีหายไปจากองค์กรได้
อีกเรื่องหนึ่งที่ HR ต้องเตรียมความพร้อมไว้ คือ เรื่องของ การรักษาคนให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ เพราะเมื่อองค์กรข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย การแก่งแย่งคนท้องถิ่นที่มีความสามารถสูงก็จะมีมากขึ้น ไม่ต้องพูดถึงค่าตอบแทนที่องค์กรต่างชาติจะกล้าจ่าย ทั้งยังมีเรื่องของโอกาสในการเดินทางไปต่างประเทศที่จะกลายเป็นจุดดึงดูดอีกด้วย ถ้าองค์กรของเราไม่สามารถสู้ในเรื่องเหล่านี้ได้ สิ่งที่ HR ต้องทาคือ การหาจุดเด่นขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของวัฒนธรรม เพื่อนร่วมงาน หรือสวัสดิการบางอย่าง เพื่อใช้ในการดึงพนักงานไว้กับองค์กร หรือถ้าหาจุดเด่นไม่ได้จริงๆ HR ต้องร่วมมือกับผู้บริหารระดับสูงในการระบุออกมาเลยว่า พนักงานคนใดที่องค์กรต้องเก็บไว้ให้ดี และพยายามทุกวิถีทางในการเก็บรักษาพนักงานเหล่านี้เอาไว้
      สำหรับตัว HR เอง ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมในส่วนงานของตนที่ต้องมองให้กว้างขึ้น เพราะในอนาคตนอกจากคนไทยที่ทางานในองค์กรแล้ว องค์กรอาจจะต้องรับชาวต่างชาติเข้ามาร่วมงานด้วย ดังนั้น HR อาจจะต้องดูแลเพิ่มในเรื่องของสวัสดิการต่างๆ ที่พนักงานต่างชาติอาจจะต้องมีเพิ่มมากกว่าคนไทย นอกจากนี้ HR ยังต้องเข้าใจถึงการเปรียบเทียบในเชิงต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในเชิงการศึกษา ถ้ามีชาวต่างชาติบอกว่าการศึกษาสูงสุดของเขา คือการสอบ GCE O Level ที่สิงคโปร์ HR ต้องเข้าใจแล้วว่า GCE O Level ของสิงคโปร์เทียบเท่ากับมัธยม 6 ของเมืองไทย
      ที่มา http://www.thai-aec.com

บทบาทผู้บริหารยุค IT

 เมื่อก้าวล่วงมาถึงยุคปัจจุบัน จากกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการคือ การปฏิรูปการศึกษา มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ ในการบริหารจัดการงานด้านการศึกษาต่างๆ หลั่งไหลเข้ามาในระบบโรงเรียนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง หากผู้บริหารจะยังคงยืนนิ่งอยู่ไปวันๆยึดสุภาษิต “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” หรือคติว่า อยู่เฉยๆรอดูเขาไปก่อนถ้าจำเป็นจริง  ก็ลอกเขาก็ได้แล้วละก้อ คงจะต้องจมน้ำตายหรือถูกกระแสน้ำพัดหายไปจากระบบในไม่ช้า ผู้แกร่งกล้าเท่านั้นที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างสมภาคภูมิ ได้รับการยอมรับและยกย่องจากวงสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องสร้างศักยภาพของตนเองให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เพื่อให้สอดรับกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามความคาด หวังของสังคม
         ผู้บริหารเป็นผู้ที่ต้องทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยอาศัยคนอื่น ดังนั้นผู้บริหารที่ ดีควรที่จะมีคุณสมบัติของผู้นำควบคู่ไปด้วย ดังนี้
        1.  มีภาวะผู้นำ มีศิลปะในการครองใจคน สามารถจูงใจคนให้เต็มใจร่วมมือหรือให้การสนับสนุน   เป็นนักประสานความาเข้าใจของทุกฝ่าย สามารถบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลและประสานประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้
        2.  มีเมตตาธรรม  ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ  คือลำเอียงด้วยความชังหรือรัก  ไม่เอาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  การตำหนิหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาต้องลงโทษด้วยเมตตา  ไม่ใช่ด้วยอารมณ์โกรธแค้นส่วนตัว  นักบริหารที่เป็นผู้นำขององค์กรยังต้องรู้จักสละประโยชน์ส่านตน  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมต้องรู้จักแสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานและลูกน้องในโอกาส อันสมควร  และสิ่งที่สมควรที่จะต้องมีอย่างยิ่งคือ  ความรู้จัดอดกลั้น  และอดทน  ทั้งทางอารมณ์และจิตใจ  สุดท้ายคือการรู้จักให้อภัย  ไม่อาฆาตแค้น  เรื่องที่แล้วก็ให้แล้วกันไป  ถ้าผู้บริหารมีเมตตาธรรมรู้จักให้อภัย  จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
        3.  ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง  ในการทำงาน  ถ้ามีหลักการที่ชัดเจน  การทำงานก็จะง่าย  สะดวกเร็วขึ้น  มีความเป็นธรรม  และตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำ
        4.  เป็นนักคิด  นักวิเคราะห์   นักบริหารที่ดีต้องคิดสร้างสรรค์ให้บังเกิดสิ่งที่เป็นไปได้  และ ต้องมีความสามารถในการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยง  มองถึงองค์กรรวมของปัญญาทั้งหมด  นอกจากการคิดอย่างมีระบบแล้วยังต้องรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ  ได้ชัดเจน  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        5.  มีการสร้างวิสัยทัศน์  นัก บริหารที่มีความสามารถต้องมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตออก  และคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ  ด้วยสายตาที่กว้างไกล  จากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี  ด้วยการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  มองเห็นภาพรวมทั้งระบบ  ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์  ทันสมัย  จะช่วยกะเก็งเหตุการณ์ในอนาคตได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น  และสามารถตัดสินใจดำเนินการบริหารองค์กรให้เป็นในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม ได้
        6.  มีทักษะหลายด้าน  นอกจากจะเป็นนักคิด  นักวิเคราะห์  ยังต้องมีทักษะในเรื่องต่อไปนี้
                   ทักษะในการตัดสินใจ  ต้องมีการจัดการที่ดี  มีทีมงานที่แข็งแกร่ง   มีข้อมูลที่ถูกต้องมากพอและทันสมัย  รู้จักรุก  ในโอกาสและจังหวะเวลาที่ดีและเหมาะสม   รู้จักรอ  เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่สมควร
                  ทักษะในการวางแผน  ทั้งแผนขององค์กร (แผนแม่บท)  และแผนกลยุทธ์  เป็นยุทธศาสตร์ที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์  โดยกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานไว้ล่วงหน้า  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินตามแนวทางทีกำหนดไว้ได้โดยสะดวก  มีการกำหนดแผนระยะสั้น  ระยะยาว  เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ในแต่ละขณะได้ อย่างเหมาะสมลงตัว
                  ทักษะในการจัดองค์กร  กำหนดโครงสร้างขององค์กรให้มีรูปแบบเหมาะสมกับพันธกิจและภารกิจขององค์กร  วางตนให้เหมาะสมกับงานที่ถนัด  สร้างทีมงานที่ดี  ขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานด้วยวิธีละมุนละม่อม  บางครั้งอาจต้องใช้ความเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด ก็ต้องทำ
        ทักษะในการแก้ไขปัญหา  พึงระลึกไว้เสมอว่า  ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน  จึงเป็นเรื่องธรรมดา  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ดูว่าปัญหาใดเป็นปัญหาหลัก ปัญหาใดเป็นปัญหารอง  ปัญหาใดสำคัญเร่งด่วน  ที่สำคัญ  ผู้บริหารต้องไม่กระทำตัวเป็นปัญหาเสียเอง
       ทักษะในการสร้างทีมงาน ต้องสามารถสร้างทีมงานที่ดี มีฝีมือให้เหมาะสมในแต่ด้าน  จัดมือทำงานไว้เป็นสตาฟท์ (Staff)  ช่วยคิด  ช่วยกลั่นกรองงาน              
         7. รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย  เพราะการมีข้อมูลที่ดี  ช่วยให้การตัดสินใจถูกแม่นยำขึ้น จึงต้องรู้ลึก  รู้รอบ  รู้กว้าง  รู้ไกล  กระตือรือร้นอยู่เสมอ  เป็นนักอ่าน  ขยันใฝ่หาความรู้  ช่างสังเกต  รู้จักฟัง
         8. รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย   รู้ ว่าขณะนี้ตนเป็นใคร  มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร  เพื่อที่จะสวมบทบาท  และแสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ไม่เข้าไปก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น
         9. กล้าตัดสินใจ  ในหลักวิชาการบริหาร  กล่าวกันว่า  สิ่งที่ยากที่สุดของนักบริหารคือ  การตัดสินใจ  แม้จะมีข้อมูลครบถ้วนในมือแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ  เพราะขาดความมั่นใจ  กลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น  องค์กรใดที่มีผู้บริหารแบบนี้องค์กรนั้นคงเจริญเติบโตได้ยาก  มองไม่เห็นอนาคตด้านความเจริญก้าวหน้า
        10. มียุทธวิธีและเทคนิค  กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานส่วนเทคนิคจะช่วย ประหยัดเวลา  และทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง  เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป  สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ 
        11. รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น  จะช่วยลดความขัดแย้งและขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้มาก
        12. รู้จักการเจรจาต่อรอง  ไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว  ไม่มีใครได้ทั้งหมด  และต้องไม่ใครเสียทั้งหมดต้องได้ทั้งสองฝ่าย  (Win – Win) บางครั้งต้องรู้จัก แพ้เพื่อชนะ
        13. ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้    การสร้างสัมพันธภาพอย่างไม่เป็นทางการ  มีความสำเร็จขององค์กรอย่างสูง  ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย  ย่นระยะเวลา  ลดพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ
        14. รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า   นับตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์  วัสดุอุปกรณ์  ทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งเวลาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการทำงาน
        15. เป็นนักประชาธิปไตย  นักบริหารต้องใจกว้างพอจะยอมรับความแตกต่างทางความคิด  และต้องอยู่ท่ามกลางความแตกต่างให้ได้  พร้อมทั้งต้องพยายามประสานความค่างนั้นให้เกิดประโยชน์เชิงสร้างสรรค์
        16. กระจายอำนาจเป็น  โดยดูจากการกระจายอำนาจหน้าที่  และความรู้ผิดชอบไปสู่มือทำงานเพื่องานจะได้สำเร็จลุล่วง  เรียบร้อย  รวดเร็ว  มอบหมายงานที่มีความสำคัญให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาให้เขารู้จักผิดชอบ สูงขึ้น  เปิดโอกาสให้เขาเป็นเจ้าของงานและตัดสินใจในงานชิ้นสำคัญ ๆ ให้ความรู้สึกในด้านจิตวิทยา  ให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความริเริ่มสร้างสร้างในสิ่งใหม่ ๆ และเป็นประโยชน์
         17. รู้จักทำงานในเชิงรุก  มุ่งผลงานในเนื้องานเป็นหลักมากว่ารูปแบบหรือพิธีการ  เป็นฝ่ายเริ่มต้นกระทำก่อนในสิ่งที่ถูกต้อง  และจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จ
         18. พิจารณาคนเป็น  นักบริหารต้องเชื่อในความสามารถของคนอื่นด้วย  มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพและความสามารถในทางใดทางหนึ่งเสมอ  นักบริหารที่มีความสามารถจึงต้องมองคนให้เป็นใช้คนให้ถูก  ใช้ให้ถูกคนและถูกงาน  ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องของส่วนรวมโดยเด็ดขาดสังคมไทยมักจะแยกไม่ ค่อยออก
          19. โปร่งใสและตรวจสอบได้  เป็นหนึ่งในการบริหารการจัดการที่ดี (good governance) แสดงถึงความสุจริตใจในการทำงาน  ต้องเปิดเผย  ชัดเจน  ตรงไปตรงมา  ตอบคำถามของสังคมได้
          20. รู้จักควรไม่ควร  รู้จักความพอดี  เป็นเรื่องยากที่จะบอกอย่างไรจึงพอดี  ขึ้นอยู่กับสติปัญญาวิจารณญาณและประสบการณ์ของแต่ละคน  ที่จะเรียนรู้ความพอเหมาะพอดี  ต้องรู้จักงาน  รู้จักดี   รู้จักชั่ว  แยกแยะออกได้อย่างชัดเจน
          บทบาทของผู้บริหารนั้นจะต้องใช้ศาสตร์และ ศิลป์ในการบริหารเพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานหรือสถาบันนั้นๆให้บรรลุ จุดมุ่งหมายขององค์การโดยอาศัยหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญ   คือการวางแผน(Planning)  การจัดการองค์การ(Organizing) การนำ(Leading) และการควบคุม(Controlling)การบริหารโรงเรียนเป็นการดำเนินงานที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพซึ่งเป็นหน้าที่ ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว  การบริหารโรงเรียนเป็นการร่วมมือกันทำงานของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ จัดการศึกษาเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์กับการศึกษามากที่สุดผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถทักษะทัศนคติค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหารมีภาวะผู้นำสามารถบริหารโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมาย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา
ที่มา    http://learners.in.th

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การบริหารสำนักงานยุคใหม่

คลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
        นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน กระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการเมือง เศรษกิจ และสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่ารุนแรง รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษที่ผ่านมา จากสังคมเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรม และเข้าสู่เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูลในปัจจุบัน
       ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน
การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฎิวัติอุตสาหกรรม
       ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้
เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
      ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์
โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน
      ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์
- โลกไร้พรมแดน - เศรษฐกิจเสรี - ธุรกิจข้ามชาติ - หมู่บ้านโลก
             ปรากฎการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจากองค์กรขนาดใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ลดขั้นตอนการทำงานลดเอกสารที่ใช้ ลดจำนวนบุคลากร มีการแข่งขันขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
 วิวัฒนาการทางการบริหาร การบริหารงานขององค์กรในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับ เปลี่ยนหลักทฤษฎีการบริหารมาตามลำดับ ดังนี้
ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Adam Smith จัดแบ่งโครงสร้างหน้าที่การแบ่งงานกันทำและปรัชญา Big is Beautiful มีองค์กรและการผลิตขนาดใหญ่ ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดตลาดสินค้าและบริการ 
 ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Kai Zen Demming Philosophy QC Circle ปรัชญาทางการบริหารมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ ตลอดจนการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน
 ยุคหลังปี คศ. 1980 ทฤษฎีการบริหารงานที่นำมาใช้ คือ Total Quality Management ISO 9000 Business Process Reengineering ปรัชญาการทำงานมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์ประสิทธิภาพการทำงานทุกขั้นตอน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการตามมาตรฐานที่กำหนด การผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรื้อปรับระบบการทำงานใหม่ของระบบธุรกิจ เอกชน
 แนวคิดการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ
ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ
         1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)
         2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)
         3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)
         4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)
            การนำแนวคิดการรื้อปรับระบบมาใช้ในระบบราชการเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนทันคติผู้ปฎิบัติงานใหม่ ปรับลดขั้นตอนการทำงานลงเสริมการทำงานและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะดวกในการทำงานซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำงานการให้บริการของหน่วยราชการ ตัวอย่าง
การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบเดิม)
·  การฝากถอนเงินผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน
·  มีพนักงานหลายคน แบ่งหน้าที่ ฝาก ถอน ตรวจสอบ อนุมัติ ผ่านพนักงานหลายคน
·  ใช้เวลานานในการฝากถอน
·  ระบบการตรวจสอบด้วยเอกสาร 
 การใก้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบใหม่)
·  การฝากถอนเงินมีขั้นตอนลดลง
·  มีพนักงานคนเดียวทำหลายหน้าที่ ฝากถอนตรวจสอบ อนุมัติด้วยพนักงานคนเดียวกันใช้เวลาลดลง
·  มีการมอบอำนาจ พัฒนาบุคลากร
·  มีระบบการตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ความแตกต่างระหว่างแนวคิด Reengineering กับ Automation
- Reengineering เป็นการคิดค้นกระบวนการทำงานใหม่ทั้งระบบองค์การและนำระบบคอมพิวเตอร์มาปรับใช้กับกระบวนการทำงานใหม่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที ประสิทธิภาพสูงหน่วยงานราชการส่วนใหญ่ มักจะเป็นการนำแนวคิด Automation โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับกระบวนการทำงานเดิม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การทำงานรวดเร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

¨การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง(Management Of Change)

 วิสัยทัศน์(VISION) การบริหารงานในอนาคตจำเป็นต้องกำหนดทิศทางขององค์กร ในอนาคต โดยพิจารณาจากสภาพที่เป็นจริง สถานการณ์ลูกค้า เพื่อมุ่งถึงเป้าหมายในอนาคต วิสัยทัศน์ ประกอบด้วย
- เป้าหมายในอนาคต - สภาพที่เป็นจริง - ลูกค้า ผู้รับบริการ - สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม
          ปัจจุบันลูกค้าเป็นผู้กำหนดชะตากรรมขององค์การการผลิตสินค้า และบริการเปลี่ยนจากการผลิตจำนวนมากเป็นการผลิตตามความต้องการลูกค้า ผู้บริโภค ลูกค้าจึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์การ การบริหารงานยุคใหม่ จึงมุ่งสนองตอบต่อลูกค้าเป็นสำคัญ ( Customer Oriented )
 พันธกิจ(MISSION) เป็นภารกิจหรือแนวทางนำไปสู่วิสัยทัศน์ เป็นกิจกรรมหลักที่ทำให้วิสัยทัศน์บรรลุผล องค์ประกอบของพันธกิจ
- ทำอะไร (WHAT) เป้าหมายคืออะไร - ใครเป็นคนทำ (WHO) ผู้รับผิดชอบคือใคร
- ทำอย่างไร (HOW) ให้บรรลุวัตถุประสงค์
       ดังนั้น พันธกิจอาจกำหนดไว้หลานด้าน เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (เป้าหมายหลัก) ที่กำหนดไว้
* ผลสำฤทธิ์ ( Result) การประเมินผลการทำงานจะประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยประเมินทั้งผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
- ผลผลิต (Output) เป็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากโครงการ เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการผลิตสินค้าและบริการ
- ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นผลกระทบของโครงการ อาจเป็นผลด้านนามธรรมและส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการโดยตรง
ตัวอย่าง
            โครงการสร้างภาชนะเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำ ผลผลิตได้แก่ ภาชนะ หรือ อ่างเก็บน้ำ ผลลัพธ์ต้องดูว่าประชาชนใช้ภาชนะเก็บน้ำหรือไม่ ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำหรือไม่ คุณภาพของน้ำเป็นอย่างไร สาเหตุที่ประชาชนไม่นิยมบริโภคน้ำฝนขากภาชนะ เก็บน้ำ หรือไม่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นการพิจารณาผลลัพธ์
ดังนั้น การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ วิธีการที่ทำให้ บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดและประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมาว่าบรรลุผลตามเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งได้แก่การกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ และผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ซึ่งจะทำงานไปวันๆ ไร้จุดหมายทิศทาง ดังเช่นอดีตที่ผ่านมาอีกไม่ได้

¨การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่ (Paradigm Shiff)

·  การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิด วิธีทำงานของคน
และหน่วยงานใหม่ เพื่อสร้างสรรค์บรรยายกาศการทำงานมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
- การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปฎิบัติงาน ให้มีความเต็มใจในการให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรี มองผู้มาติดต่อเป็นลูกค้า ที่ต้องให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปรับทัศนคติการทำงานที่ปกป้องตนเอง มาเป็นการทำงานเพื่อมุ่งผลสำเร็จของงานการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ของผู้ปฎิบัติงาน จะเป็นการสร้างสรรค์การทำงานให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความภูมิใจต่องานที่รับผิดชอบ ตลอดจนลูกค้าหรือประชาชนที่มาคิดต่อเกิดความพอใจ ประทับใจในการให้บริการ ควรปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานใหม่ ดังนี้
·  มองประชาชนผู้มาขอรับบริการ หรือผู้มาติดต่อราชการ เป็นลูกค้า
·  เปลี่ยนการทำงานที่ยึดเบียบปฎิบัติกฎเกณฑ์เคร่งครัดเป็นการทำงานที่ยืดหยุ่นมุ่งผลสำเร็จของงาน
·  ปรับลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ใช้เอกสารใช้เวลามาก ให้มีขั้นตอนน้อยลง ใช้เอกสารและเวลาน้อยลงเท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบ
·  การมอบอำนาจในการทำงาน (Delegation) การมอบอำนาจในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานผู้ปฎิบัติงาน จะเป็นผลให้
·  เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน
·  ตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว
·  ลดข้อจำกัดการทำงาน
  เพิ่มผลผลิตมากขึ้น
·  การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
·  เพิ่มขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฎิบัติงาน
·  การจัดสำนักงาน จัดสภาพภูมิทัศน์ เป็นแนวคิดการจัดสภานที่ทำงาน และสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานให้เอื้ออำนวยต่อการทำงาน
         แนวความคิดในการจัดสำนักงาน และจัดสภาพภูมิทัศน์สมัยใหม่ ประกอบด้วย 
 ·  สำนักงานไร้กระดาษ ลดการใช้เอกสาร มีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ทันสมัย 
 ·  สถานที่ทำงาน สะอาด สวยงาม มีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน 
 ·  สร้างทีมงาน(Process Team) จัดสถานที่ทำงานเอื้ออำนวยต่อการทำงานเป็นทีม จัดโต๊ะทำงานหันหน้าเข้าหากันเป็นลักษณะการทำงานปรึกษาหารือสถานที่ประชุมสัมมนา 
 ·  จัดระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Automation Work Flow) นำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ มีระบบโทรศัพท์คอมพิวเตอร์ มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว 
 ·  การจัดสำนักงานไร้กระดาษ (Paperless Office)
                แนวทางการดำเนินการสู่สำนักงานไร้กระดาษ เป็นการลดการใช้กระดาษ การจัดเก็บเอกสารและการทำลายเอกสารซึ่งการดำเนินการสู่สำนักงานไร้กระดาษ มีดังนี้
·  ปรับปรุงระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร ลดเอกสารได้ร้อยละ 40 โดยจำกัดพื้นที่ จัดเก็บและทำลาย
ระเบียบคำสั่ง วินัย/มาตรฐาน ฯลฯ
·  ปิดประกาศหรือแจ้งเวียนแทนการแจกจ่ายเอกสาร
·  ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ลดเอกสารได้ร้อยละ 40 ด้วยระบบจัดเก็บเอกสาร Save in Diskettes Filing System

¨การบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามแนวทางการบริหารยุคใหม่

* การเปลี่ยนแปลงบทบาทองค์กร การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงองค์กรจำเป็นต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
* การแบ่งงานตามหน้าที่ (Function) เปลี่ยนไปสู่การทำงานหลายด้าน(Multi-Function) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานได้หลายหน้าที่
* ถูกควบคุม (Control) เปลี่ยนไปสู่การเพิ่มอำนาจ การบริหารงานเปลี่ยนจากเน้นการควบคุมเป็นการให้อิสระในการทำงานแก่ผู้ปฎิบัติงานมีการตรวจสอบควบคุมน้อยลง
* การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหาร หรือทำงานแบบเดิม ไปสู่การบริหารงาแบบใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนสู่การบริหารงานยุคใหม่ ประกอบด้วยเงื่อนไข ดังนี้
          * สร้างกระบวนการทำงานใหม่
          * นำเทคโนโลยีมาใช้
         * สร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่
         * วิเคราะห์ลูกค้าและสถานการณ์
         * มอบอำนาจการตัดสินใจ
         ขั้นตอนการดำเนินการสู่การบริหารงานยุคใหม่ นอกจากการดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ยังมีขั้นตอนการดำเนินการสู่การบริหารยุคใหม่ ประกอบด้วย
         * สร้างวิสัยทัศน์การบริหารงาน (VISION) กำหนดเป้าหมายในการบริหารงาน การทำงาน
          * กำหนดพันธกิจ(MISSION) กำหนดแนวทาง ภารหน้าที่ เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมาย
           * กำหนดผลลัพธ์ (OUTCOME) พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริหารงาน การทำงาน
           * สร้างตัวชี้วัด(INDICATOR) เพื่อวัดผลที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อเป้าหมายเพียงใด ตัวชี้วัดควรวัดในเชิงรูปธรรมได้
            * วัดผลสัมฤทธิ์ เป็นการตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงทบทวน ขั้นตอนการดำเนินการทำงานของนักบริหารยุคใหม่

ที่มา http://school.obec.go.th

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

การบริหารคนเพื่อบริหารงาน

การบริหารคน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารงาน ที่ระดับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในฐานะ   หัวหน้างานควรต้องสนใจ
จากประสบการณ์ของผู้เขียนในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่พอจะมีเด็กช่วยงาน  และมีผู้บังคับบัญชาสั่งการ ซึ่งเรียกได้ว่า มีบทบาททั้งสองบทบาท  และในฐานะที่ทำงานเกี่ยวกับด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่า คน เป็นสิ่งที่บริหารจัดการได้   ถ้าผู้หน่วยงานหรือองค์กรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทำกันอย่างจริงจัง
 แล้วจะบริหารคนอย่างไรกัน
ผู้เขียนมองว่า การนำหลักการบริหาร 14 ประการของ Henri Fayol มาประยุกต์ใช้ เป็นดีที่สุด
ประการที่ หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ(Authority and Responsibility) 
ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ และอำนาจหน้าที่ควรจะมีควบคู่กับความรับผิดชอบ และเมื่อผู้ใดได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต่องานใดงานหนึ่ง ผู้นั้นก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เพียงพอที่จะใช้ปฏิบัติงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดี
ประการที่ 2 หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว(Unity of Command) ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนควรได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาการเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนในคำสั่งที่เกิดขึ้น
ประการที่  3 หลักของการไปในทิศทางเดียวกัน (Unity of Direct ion ) กิจกรรมของกลุ่มควรมีเป้าหมายเดียวกัน และจะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกันตามแผนงานที่กำหนด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในที่สุด
ประการที่   4  หลักสายการบังคับบัญชา (Scalar Chain) การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจากระดับสูงสุดมายังระดับต่ำสุดในองค์การ ที่จะเอื้ออำนวยให้การบังคับบัญชา เป็นไปตามหลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว และช่วยให้เกิดระเบียบ ในการติดต่อสื่อสารในองค์การอีกด้วย
ประการที่  5 หลักของการแบ่งงานกันทำ (Division of Work or Specialization) การแบ่งงานกันตามถนัด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของบุคลากรในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักเศรษฐศาสตร์
ประการที่ 6 หลักความมีระเบียบวินัย(Discipline) การยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสมาชิกภายในองค์การ โดยมุ่งให้เกิดความเคารพ เชื่อฟังและทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องมีความยุติธรรมและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
ประการที่  7 หลักประโยชน์ของส่วนบุคคลเป็นรองจากประโยชน์ของส่วนรวม (Subordination of the Individual Interest to General Interest ) เป้าหมาย ผลประโยชน์ และส่วนได้เสียของส่วนรวมหรือ ขององค์การ จะต้องมีความสำคัญเหนือกว่าเป้าหมายส่วนบุคคล หรือของส่วนย่อยต่างๆ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร คนงาน และกลุ่มต่างๆ แต่ทั้งนั้นต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร คนงาน และกลุ่มต่างๆ โดยยึดถือหลักความเป็นธรรม
ประการที่ 8 หลักของการให้ผลตอบแทน(Remuneration) ต้องมีความยุติธรรมและให้เกิดความพอใจ และประโยชน์มากที่สุด แก่ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง ให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคม
ประการที่ 9 หลักของการรวมอำนาจ ( Centralization) การจัดการจะต้องมีการรวมอำนาจ ไว้ที่จุดกลางเพื่อที่จะควบคุมส่วนต่างๆขององค์การไว้ได้เสมอ แต่ต้องมีความสมดุลระหว่างการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้
ประการที่ 10 หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Order) การจัดระเบียบสำหรับการทำงานของคนงานในองค์การนั้น ผู้บริหารจำต้องกำหนดลักษณะและขอบเขตของเขตงานให้ถูกต้อง ชัดเจน พร้อมทั้งระบุถึงความสัมพันธ์ต่องานอื่น รวมถึงการจัดหาที่ตั้งของเครื่องมือและวัสดุต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน
ประการที่  11 หลักความเสมอภาค (Equity) ผู้บริหารต้องมีเมตตาและให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายภายในองค์การ เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความจงรักภักดีและอุทิศตนในการทำงานให้กับองค์การ
ประการที่ 12 หลักความมั่นคงในการทำงาน (Stability of Tenure) การที่คนเข้าออกมาก ย่อมเป็นสาเหตุของการสิ้นเปลืองและทำให้การจัดการงานไม่เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น ทั้งผู้บริหารและคนงานจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพื่อเรียนรู้งานและปัญหาต่างๆ ขององค์การ
ประการที่ 13 หลักความริเริ่ม(Imitative) การเปิดโอกาสให้คนงานภายในองค์การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จะเป็นพลังอันสำคัญที่จะทำให้องค์การเข้มแข็ง เพื่อปฏิบัติตาม แผนงานและเป้าหมายต่างๆ ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ประการที่ 14 หลักความสามัคคี (Esprit de Corps) การเน้นถึงความจำเป็นที่ทุกคนในองค์การจะต้องทำงานเป็นกลุ่มที่เป็นหนึ่งอันเดียวกันเพื่อจะให้เกิดการบรรลุเป้าหมายขององค์การเป็นอย่างดีภายในทิศทางเดียวกัน
หลักการบริหารทั้ง 14  ประการดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า เป็นหลักการที่ผู้บริหารเคยปฏิบัติมาก่อน แต่ต้องยอมรับว่า Fayol เป็นบุคคลแรกที่ประมวลหลักการบริหารเหล่านี้ขึ้นมาอย่างเป็นระบบ จนทำให้การบริหารสามารถถ่ายทอดเรียนรู้ต่อกันได้ และทำให้การบริหารเป็นวิชาชีพ (professional) อย่างหนึ่งด้วย
การนำหลักการบริหาร 14 ประการมาใช้ในการบริหารคน เชื่อว่า การบริหารงานยอมบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
 ที่มา http://www.oknation.net